Facebook Twitter RSS
banner

Latest News

วันพุธที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2556

นำทัพโดยมือเก๋าอดีตแชมป์โลกจากการแข่งเจ็ตสกีปี 2008 ''แดง'









ไม่กี่เดือนจากนี้ ความระห่ำสุดรุ่มร้อนของการแข่งรถดริฟท์มาตรฐานระดับโลก ลิขสิทธิ์แท้จากต้นตำรับการดริฟท์ประเทศญี่ปุ่น จะระเบิดความมันอีกครั้งในดีวัน กรังด์ปรีซ์ ไทยแลนด์ ซีรีส์ 2013 ก้าวที่ 2 อย่างมั่นคง ที่จัดอย่างยิ่งใหญ่ทุกด้านทั้งการแข่ง ซึ่งตัดสินเที่ยงตรงด้วยระบบดอสส การเอนเตอร์เทนผู้ชมที่มากด้วยความสนุกจากโชว์ต่างๆ ทั้งไทย-ญี่ปุ่น และมินิคอนเสิร์ตจากศิลปินดังทุกสนาม 

        บทความนี้เสนอการเปลี่ยนแปลงหลังจบฤดูกาล 2012 ของดีสโตน ดริฟท์ ทีม อีกม้ามืดผลงานเด่นทุกสนามที่ลงแข่ง และเสริมทัพให้ทีมแข็งแกร่งมากขึ้น ด้วยโปรสะบัดท้ายรุ่นเก๋า ''กรานต์'' ดิสพงษ์ เลี้ยงบำรุง โดยทั้ง 4 จตุรเทพนี้ร่วมกันฝึกฝีมือและพัฒนาการแข่งแบบชุดใหญ่เพื่อศึกดริฟท์ครั้งใหม่ปี 2013 

''แดง'' มณเฑียร สิริวัฒนากูล


        นำทัพโดยมือเก๋าอดีตแชมป์โลกจากการแข่งเจ็ตสกีปี 2008 ''แดง'' มณเฑียร สิริวัฒนากูล ที่ดริฟท์จริงจังเมื่อปี 2012 แต่ที่จริงเข้าสู่เส้นทางมอเตอร์สปอร์ตด้วยการขับรถคาร์ทเมื่อหลายปีก่อน และแข่งเซอร์กิตด้วย เริ่มดริฟท์โดยรู้จักกับเพื่อนที่ดริฟท์อยู่ก่อนหน้านี้อยากขับเจ็ตสกี จึงแลกเปลี่ยนทักษะกัน เริ่มดริฟท์โดยขอยืมนิสสัน 200 เอสเอ็กซ์ ของเพื่อนมาฝึก แล้ววันรุ่งขึ้นก็ตัดสินใจซื้อรถรุ่นนั้นทันที เพราะราคาไม่สูงนัก อะไหล่เซียงกงมีค่อนข้างมาก แต่เมื่อดริฟท์คล่องจึงเปลี่ยนเป็นนิสสัน สกายไลน์ อาร์ 34 เครื่องยนต์ อาร์บี 26 พลัง 600 แรงม้า ตัวแข่งระดับเทพ หนึ่งเดียวในวงการดริฟท์ไทย

        ปี 2013 รถแข่งเป็นคันเดิมปรับเปลี่ยนช่วงล่างบ้าง พร้อมเสริมความแรงอีกเล็กน้อย พร้อมเน้นการฝึกซ้อมให้มากขึ้น เพื่อให้ฝีมือดีและขับได้เร็วขึ้น ปีที่ผ่านมาผลงานอยู่ระดับกลางๆ ของคะแนนสะสมดีวัน ไทยแลนด์ ปีนี้ประสบการณ์ที่เพิ่มขึ้น คงช่วยให้นักซิ่งหลายรูปแบบรายนี้ ประสบความสำเร็จในเส้นทางมอเตอร์สปอร์ตของโลกแห่งดีวัน

''เอ็นจิ้น'' ชัชนันท์ สิริวัฒนากูล


        นักเจ็ตสกีดีกรีรองแชมป์ประเทศไทยที่ผันสู่วงการดริฟท์ ลูกชายหัวแก้วหัวแหวนของ แดง-มณเฑียร ''เอ็นจิ้น'' ชัชนันท์ สิริวัฒนากูล หนุ่มน้อยนักศึกษาหน้าใสที่โลดแล่นในโลกความเร็วตั้งแต่เด็ก แต่ชอบรถจึงอยากผันมาแข่งรถบ้าง ทีแรกไปดูแดร็กเรซซิ่ง แต่รู้สึกไม่เร้าใจพอ เสียวแป๊ปเดียวก็เข้าเส้นชัย และการไปสนามดริฟท์กับพ่อตลอด ทำให้กลิ่นควันยางซึบซาบสู่เส้นเลือด จึงขอรถดริฟท์นิสสัน 200 เอสเอ็กซ์ ของพ่อมาฝึก ปัจจุบันใช้รถรุ่นเดิมคันใหม่ปรับเซตเพื่อแข่งโดยเฉพาะ เครื่องยนต์ข้ามสายพันธุ์เป็น 6 สูบ 1เจแซด-จีทีอี 520 แรงม้า

        ในดีวัน ไทยแลนด์ ปีที่ผ่านมา สวยหรูคว้าแชมป์ทันโซ (วิ่งเดี่ยว) สนาม 3 ด้วยคะแนนเต็ม 100 และได้สิทธิ์ร่วมแข่งในแมตช์พิเศษ เนชั่นแนล แบทเทิล แต่โชคร้ายรถเสีย จึงนำรถพ่อมาแข่งแทน ด้วยความไม่ชินและรถที่บอบช้ำมาหลายสนามจึงพลาดเข้ารอบลึกไม่ได้ ปี 2013 เตรียมความพร้อมเพื่อลุยศึกใหญ่ตั้งแต่เนิ่นๆ รื้อเครื่องยนต์โอเวอร์ฮอล พร้อมเซตช่วงล่างใหม่ เพื่อให้พร้อมเต็ม 100 ตั้งแต่สนามแรก

''น้ำ'' จุฑารัตน์ ขาวสะอาด 



        สาวสวยหน้าใสหนึ่งเดียวในวงการรถดริฟท์ไทย ''น้ำ'' จุฑารัตน์ ขาวสะอาด สาวคนนี้เริ่มใฝ่ฝันอยากเป็นนักแข่งรถ เพราะเห็นนักซิ่งสาวจากเว็บไซต์ จึงรู้สึกว่าเท่มาก อยากใส่ชุดแข่งบ้าง เมื่อมีโอกาสได้ดูดริฟท์แบบติดขอบสนาม จึงไม่รอช้าติดต่อ ''กรานต์'' ดิสพงษ์ เลี้ยงบำรุง เพื่อเรียนดริฟท์ทันที และพิเศษกว่านักแข่งไทยหลายคน ด้วยการเรียนดริฟท์กับอาซึชิ มูราตะ นักดริฟท์ชาวญี่ปุ่นที่เคยร่วมแข่งในไทย แข่งครั้งแรกเมื่อปี 2011 แม้ประสบการณ์ไม่มากนัก แต่ก็เอาชนะหลายนักดริฟท์ชาย จนมีแฟนคลับตามเชียร์ทุกสนาม แข่งด้วยนิสสัน เซฟิโร เอ31 เครื่องยนต์ข้ามสายพันธุ์ 1เจแซด โมดิฟาย 450 แรงม้า

        ปี 2012 นับว่าประสบความสำเร็จ เพราะสนาม 3 ผ่านรอบคัดเลือกได้ร่วมแข่งซึยโซ (วิ่งคู่) พร้อมผ่านถึงรอบ 16 คันสุดท้าย และสนาม 5 ก็ผ่านรอบคัดเลือกได้ร่วมแข่งซึยโซอีกครั้ง โดยทะลุถึงรอบ 16 คันสุดท้าย ปีนี้เตรียมแผนการซ้อมให้มีเทคนิคมากขึ้น เพื่อให้พร้อมกับทุกสถานการณ์ รถแข่งกำลังเปลี่ยนเครื่องยนต์ใหม่ให้แรงขึ้น และจะปรับช่วงล่างเล็กน้อยเพื่อให้ดริฟท์ดีขึ้น

''กรานต์'' ดิสพงษ์ เลี้ยงบำรุง 



        คนสุดท้ายนักแข่งคนใหม่ของทีม แต่เป็นรุ่นใหญ่แห่งวงการดริฟท์ไทย ''กรานต์'' ดิสพงษ์ เลี้ยงบำรุง หรือที่ขาซิ่งรู้จักกันดีในนามกรานต์ไฟเบอร์ แข่งดริฟท์มา 4 ปี เริ่มจากกลุ่มลูกค้ามาชวนก็เลยลองไปดู แม้ไม่เคยขับรถซิ่งมาก่อน แต่เมื่อเห็นเทคนิคการขับรถที่แปลกประหลาดนี้ก็ชอบทันที จึงเริ่มดริฟท์เองโดยลองผิดลองถูกมาเรื่อยๆ จนปี 2011 ได้รู้จักกับอาซึชิ มูราตะ และช่วยปรับเทคนิคการขับให้ จึงมีความแพรวพราวและดุดันขึ้น จนเทียบชั้นนักดริฟท์อันดับต้นๆ ของไทยได้สบาย แข่งด้วยนิสสัน ซิลเวีย เอส13 เครื่องยนต์ข้ามสายพันธุ์มาแรงด้วย 2 เจแซด พลัง 600 แรงม้า   

        ปี 2012 ในดีวัน ไทยแลนด์ แม้การตัดสินใช้ระบบดอสส ที่คนไทยไม่คุ้นเคย แต่ปรับตัวได้ จึงเข้าถึงรอบ 16 คันสุดท้ายทุกครั้ง และดีสุดได้อันดับ 4 ในการแข่งสนามพิเศษเนชั่นแนล แบทเทิล ที่แข่งกับนักแข่งญี่ปุ่น ปี 2013 กำลังเริ่มทำบอดี้พาร์ตใหม่พร้อมเพิ่มความแรงด้วยการติดตั้งไนตรัสฯ เพื่อเปิดตัวในศึกดีวันไทยแลนด์ สนามแรก คาดว่ามือเก๋าคนนี้สร้างเซอร์ไพรส์ได้แน่นอน

        เป็นทีมแข่งรถดริฟท์ ที่รวมตัวกันอย่างอบอุ่น ในการแข่งทุกครั้งแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อร่วมสร้างฝันบนโพเดี้ยม ความเป็นกันเองและความสนิทแบบครอบครัวเดียวกันของดีสโตน ดริฟท์ ทีม จะทำให้ 4 จตุรเทพนี้เป็นแชมป์ได้หรือไม่ ติดตามได้ในดีวัน กรังด์ปรีซ์ ไทยแลนด์ ซีรีส์ 2013 เร็วๆ นี้

วันอาทิตย์ที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2555

ใช้รถแข่ง - ใช้ในชีวิตประจำวัน


มาสด้า ไทกิ
อวดโฉมในงานโตเกียวมอเตอร์โชว์ ครั้งที่ 40 ตุลาคม 2550
มาสด้า ไทกิ สะท้อนให้เห็นทิศทางที่ชัดเจนอันหนึ่งของรถสปอร์ตมาสด้าในอนาคตซึ่งมีวัตถุประสงค์ในการช่วยเสริมสร้างสังคมที่ยั่งยืน โดยเป็นรถยนต์รุ่นที่ 4 ในดีไซน์ซีรี่ของนากาเระยังได้นำธีมเกี่ยวกับ “ความเคลื่อนไหว” มาขยายผลเพื่อสร้างรูปลักษณ์ใหม่ที่ชวนตื่นตาและเกิดความแตกต่างไปจากรุ่นเดิม ๆ อย่างชัดเจน เช่นเดียวกับสะท้อนให้เห็นภาพของชั้นบรรยากาศที่ห่อหุ้มโลกไว้ ซึ่งเป็นความหมายของคำว่า “ไทกิ” ในภาษาญี่ปุ่น ที่มาของชื่อนั่นเอง
สัดส่วนพื้นฐานของรถเริ่มจากรูปทรงของรถคูเป้ที่ขยายความยาวให้มากขึ้น โดยวางเครื่องยนต์ด้านหน้า ใช้ระบบขับเคลื่อนล้อหลัง โอเวอร์แฮงสั้น พร้อมบอดี้กระจกใสรอบคันให้ความรู้สึกโปร่งเบา โจทย์ท้าทายในการสร้างสรรค์ “ดีไซน์ที่สื่อถึงความเคลื่อนไหวของอากาศ” ได้รับแรงบันดาลใจจากภาพของ ฮาโกโรโม เสื้อคลุมที่ช่วยให้เด็กสาวผู้สวมใส่บินลอยบนท้องฟ้าได้ในนิทานญี่ปุ่น ส่วนการออกแบบภายในแนวคิดแบบ air-tube มีที่มาจาก โคอิโนโบริ หรือธงรูปปลาคาร์ฟที่กำลังว่ายทวนน้ำ
ด้วยเหตุนี้ ส่วนประกอบต่าง ๆ ตั้งแต่แผงหน้ารถ เบาะที่นั่ง จนถึงคิ้วของประตู และพื้นที่ภายในตัวรถ จึงให้ความรู้สึกที่เคลื่อนไหวได้ราวกับเส้นสายของลมที่กำลังพัดมา ด้านระบบขับเคลื่อน ไทกิอาศัยขุมพลังจากเครื่องยนต์โรตารี่ที่มาพร้อมด้วยเทคโนโลยี RENESIS อันล้ำสมัยจากมาสด้า ซึ่งสร้างมาตรฐานใหม่ทั้งในด้านประสิทธิภาพการขับขี่และความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม วางเครื่องยนต์ด้านหน้าและขับเคลื่อนล้อหลัง วางที่นั่งสองที่ในรูปแบบที่เป็นเอกลักษณ์ พร้อมชุดแต่งสปอร์ตของมาสด้าที่สร้างความรู้สึกโปร่งเบายิ่งขึ้นให้กับตัวรถ ผลลัพธ์จากธีมในการดีไซน์ยังช่วยเสริมสร้างความคล่องตัวตามหลักอากาศพลศาสตร์อย่างดีเยี่ยม


มาสด้า ฮากาเซ่
งานเจนีวา อินเตอร์เนชั่นแนล มอเตอร์โชว์ ครั้งที่ 77 เดือนมีนาคม 2550
คำว่า ฮากาเซ ในภาษาญี่ปุ่น ประกอบด้วย “ฮา” หมายถึง “ใบไม้” และ “กาเซ่” หมายถึง “สายลม” จึงเป็นคำผสมที่สมบูรณ์แบบสำหรับใช้เป็นชื่อยานยนต์ที่ดูราวกับวิ่งทะลุผ่านอากาศได้ทั้งที่ยังจอดอยู่เฉย ๆ มาสด้า ฮากาเซ่ เป็นรถที่มีสัดส่วนสุดกะทัดรัด ด้วยความยาวเพียง 4,420 มม. ใกล้เคียงกับมาสด้า3 แฮ็ชแบ็ก จึงให้ความรู้สึกในการขับเคลื่อน ที่คล่องตัวแบบรถสปอร์ต แต่มีความกว้าง 1,890 มม. มากกว่ามาสด้า3 ประมาณ 135 มม. และสูง 1,560 มม. สูงกว่ามาสด้า3 ประมาณ 95 มม. จัดวางตำแหน่งที่นั่งที่สูงกว่า พื้นที่กระจกขนาดใหญ่มาก และช่วงล่างก็มีขนาดใหญ่ ซึ่งล้วนเป็นองค์ประกอบที่มักใช้ในการออกแบบรถเอสยูวีในเซ็กเม้นต์ ซี ฮากาเซ มีรูปลักษณ์ภายนอกที่ดูล้ำยุค ไม่มีทั้งที่เปิดประตูและกระจก แต่ใช้กล้องจับภาพจากภายนอกแทน รูปทรงกะทัดรัด เส้นสายรอบคันที่ดูโค้งมนลื่นไหล และพื้นผิวด้านข้างที่บึกบึนและแข็งแกร่ง รถคันนี้ไม่มีเสากลาง (B-pillar) และสองในสามของหลังคากระจกสามารถถอดออกเป็นสองส่วนและเก็บเข้าสู่ช่องเก็บตรงกันชนท้ายรถได้ หน้าต่างไร้โครงทั้งสี่บานวางในตำแหน่งที่ต่ำลงเพิ่มความปราดเปรียว ให้ความสนุกสนานในการขับขี่แบบโรดสเตอร์คูเป้ขนาดสี่ที่นั่ง


มาสด้า เรียวกะ
เผยโฉมต่อสื่อมวลชนครั้งแรกในวันที่ 8 มกราคม 2550 ในงานนอร์ธอเมริกัน อินเตอร์เนชั่นแนลออโต้โชว์
มาสด้า เรียวกะ สร้างขึ้นจากแนวคิดที่ว่าด้วยความเคลื่อนไหวของมาสด้า ขณะที่รถต้นแบบ “นากาเร่” ซึ่งในภาษาญี่ปุ่นแปลว่า “ความเคลื่อนไหว” เปิดตัวครั้งแรกในงานลอสแองเจลีส ออโต้โชว์ พร้อมกับการแนะนำแนวคิดด้านดีไซน์ในอนาคตของมาสด้า ส่วน เรียวกะ ซึ่งในภาษาญี่ปุ่นแปลว่า “เคลื่อนไหวอย่างสง่างาม” และเป็นแนวคิดด้านดีไซน์แห่งอนาคตนั้นเป็นการสะท้อนถึงเทคโนโลยีที่ก้าวล้ำไปอีกขั้นในการใช้เส้นสายโครงสร้างที่หลากหลาย เทคนิคการประกอบ และรายละเอียดต่าง ๆ ที่แฝงอยู่ มาสด้า เรียวกะ จึงเป็นยานยนต์ที่สวยสง่างาม หากคงแฝงไว้ซึ่งจิตวิญญาณและความเฉียบคมอย่างเต็มเปี่ยม สะท้อนถึงความงามแบบญี่ปุ่นที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว
ลอเรนส์ แวน เดน แอคเกอร์ ผู้อำนวยการด้านดีไซน์ของมาสด้า กล่าวว่า “เรียวกะ พัฒนาขึ้นตามแนวคิด “ซูม-ซูม” ด้วยการผสมผสานความปราดเปรียว ความมั่นใจ ความสนุกสนาน และความสดใหม่ภายใต้รูปลักษณ์ที่โดดเด่นไม่เหมือนใคร”


มาสด้า นากาเร่
เปิดตัวในงานเกรทเทอร์ ลอสแองเจลีส ออโต้โชว์ 29 พฤศจิกายน 2549
ลอเรนส์ แวน เดน แอคเกอร์ ผู้อำนวยการด้านดีไซน์ของมาสด้าให้ความเห็นว่า นากาเร่ คือการประมวลแนวคิดการออกแบบในอนาคตของมาสด้ามาไว้ภายในคำๆ เดียวคือ “ความเคลื่อนไหว” โดยเขากล่าวว่า “นากาเร่ คือผลลัพธ์ที่ลงตัวของการกำหนดสัดส่วนและพื้นผิวซึ่งนำมาใช้เป็นพื้นฐานในการออกแบบที่เราจะนำเสนอในงานออโต้โชว์ระดับนานาชาติในอนาคต นากาเร่ คือการเล่นกับแสงสว่างและเงา และเป็นรถต้นแบบที่เผยให้เห็นถึงแนวคิดในการออกแบบรถยนต์มาสด้าในอนาคตต่อไป”
ฟรานซ์ ฟอน โฮลซ์เฮาเซ่น ผู้อำนวยการฝ่ายออกแบบ มาสด้าอเมริกาเหนือ ซึ่งเป็นหัวหน้าทีมออกแบบ นากาเร่ ในเมืองเออร์ไวน์ แคลิฟอร์เนีย ให้คำอธิบายว่า นากาเร่ คือการสะท้อนให้เห็นถึงแนวคิด “ซูม-ซูม” ในรูปแบบที่พัฒนาไปอีกขั้น “นักออกแบบของเราได้รับแรงบันดาลใจจากความเคลื่อนไหวขององค์ประกอบต่าง ๆ ในธรรมชาติ โดยจับเอาความเคลื่อนไหว พลัง และความเบาไร้น้ำหนักมาถ่ายทอดเป็นเส้นสายและรูปทรงที่สวยงาม ทรงพลังอย่างที่สัมผัสได้ และที่สำคัญคือ พลังดึงดูดอันสุดแสนเร้าใจ”
รถยนต์ของมาสด้าเป็นที่คุ้นเคยในเมืองไทยมานานกว่า 57 ปี และยังคงดำเนินบทบาทสำคัญต่อการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจไทย มาสด้ามุ่งมั่นในการนำอารมณ์สนุกสนานวัยเด็กกลับมาสู่ทุกท่านอีกครั้ง ด้วยการผลิตรถยนต์ภายใต้แนวคิด "ซูม-ซูม" อันเปี่ยมไปด้วยคุณลักษณะแห่งความ "ท้าทาย" "สร้างสรรค์" และ "ร่าเริง" เพื่อให้ทุกการขับขี่ของคุณไม่ใช่เพียงการเคลื่อนที่จากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง นอกเหนือจากยนตรกรรมอันทรงเอกลักษณ์แล้ว เรายังทุ่มเทอย่างหนักในการพัฒนาการบริการหลังการขายเพื่อให้ลูกค้าของมาสด้าทุกคนได้รับความพึงพอใจ เพราะเรายึดมั่นว่า รอยยิ้มของท่านคือความภาคภูมิใจของเรา


รถแข่ง




มาสด้า ฟูไร “เสียงแห่งสายลม”
เผยโฉมครั้งแรกที่งานนอร์ธอเมริกัน อินเตอร์เนชั่นแนล ออโต้โชว์ 2008 จัดขึ้นที่เมืองดีทรอยท์ เมื่อเดือนมกราคม 2551
ด้วยแรงบันดาลใจจากความเป็นจริงที่ว่า ทุกๆ วันหยุดสุดสัปดาห์ รถที่ออกมาวิ่งแข่งประลองความเร็วกันบนถนนทั่วสหรัฐอเมริกาจะเป็นรถมาสด้าหรือรถที่ติดตั้งเครื่องยนต์ของมาสด้ามากกว่ายี่ห้ออื่นๆ มาสด้าฟูไรคือรถยนต์ที่ผลิตขึ้นจากการใส่ “จิตวิญญาณแห่งรถสปอร์ต” ลงไปในทุกรายละเอียด หากยังคงไว้ซึ่งวิสัยทัศน์แห่งอนาคตและคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมด้วยคุณสมบัติที่สามารถรองรับเอทานอล E100 ที่ผลิตโดยบีพีได้
ฟูไร นำแนวคิดการออกแบบ “นากาเร่” (แปลว่า ”เคลื่อนไหว” ในภาษาญี่ปุ่น) อันโดดเด่นมีเอกลักษณ์มาใช้ในการพัฒนายานยนต์ต้นแบบโดยอาศัยโครงสร้างของรถแข่งที่ใช้ในการแข่งขันอเมริกัน เลอมองส์ ซีรี่ส์ (ALMS) รถยนต์คันนี้ยังโดดเด่นเหนือใครในสนามแข่งด้วยแชสซี เคอเรจ ซี65 ที่มาสด้าเพิ่งประกาศให้โลกรู้จักในการแข่งขัน ALMS เมื่อ 2 ซีซั่นที่แล้ว และเครื่องยนต์รถแข่งโรตารี่ 3 โรเตอร์ขนาด 450 แรงม้าอันทรงพลัง
ฟรานซ์ ฟอน โฮลซ์เฮาเซ่น ผู้อำนวยการฝ่ายออกแบบ ธุรกิจมาสด้าในอเมริกาเหนือ กล่าวว่า “ฟูไรพยายามลดระดับความแตกต่างระหว่างรถยนต์ที่ใช้งานทั่วไปและรถแข่งที่ใช้ในสนาม ในอดีตอาจจะมีช่องว่างระหว่างรถแข่งกับรถที่ใช้งานจริงหรือซูเปอร์คาร์ที่ผลิตขึ้นโดยถอดแบบมาจากรถแข่ง และฟูไรก็คือรถยนต์รุ่นแรกของโลกที่อยู่ตรงกึ่งกลางระหว่างรถสองกลุ่มนี้”
แนวคิดการออกแบบนากาเร่อันลือลั่นของมาสด้าสื่อถึงความเคลื่อนไหวของสายน้ำ อากาศ ผู้คน หรือสิ่งต่าง ๆ องค์ประกอบของมาสด้านากาเร่ในมาสด้าฟูไรคือความเคลื่อนไหวที่มาพร้อมรูปแบบที่เข้าถึงความต้องการและจิตวิญญาณของผู้ขับขี่ซึ่งปลุกเร้าให้ใคร ๆ ต่างก็อยากครอบครองรถคันนี้